เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542 ( ลอกมาจากบทความทางอินเตอร์เน็ท ยังไม่ได้ขออนุญาต)
" เศรษฐกิจพอเพียง … คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ … Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา
เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. "
" ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ …จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป
… หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่ ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือ มีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.…ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน
…… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้ "
… ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบ
เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้
เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ …ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพล
มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้
ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "
ความหมาย ตามความรู้ของดิฉัน
- คือการดำเนินชีวิต และ การประกอบอาชีพ การเกษตร แบบ พอมีพอกิน พอใช้ ในปัจจัย ทั้ง 4 ที่เป็นพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อทุกชีวิตบนโลกนี้ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น มีความสงบสุข ,มีชีวิตที่สมถะ เดินตามสายกลาง
- การทำงานเกษตรที่เป็นแหล่งอาหาร โดยแบ่งพื้นที่ เป็นส่วนๆเพื่อใช้ทำการเกษตรที่พึ่งพากัน เชื่อมโยง และเป็นวงจรของสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันทั้งพืชและสัตว์ พิจารณา ถึงความหลากหลาย มีระบบ และสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่
แล้วค่อยๆเพิ่มความพอเพียงขึ้นตามสภาพสังคม และรายได้ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยความเพียร ความอดทน ความซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม
- มีการช่วยเหลือกันและกันทั้งในชุมชนนั้น มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน การ แลกเปลี่ยน ตามกำลังและความสามารถของตน หากเหลือใช้ก็สนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในการ รวมกลุ่มกัน เพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวม บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน หรือจัดตั้งสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
- มีการแปรรูป และถนอมอาหาร เช่น มะม่วงอบแห้ง กล้วย อบ ทุเรียนทอด ฯลฯ
- มีความ ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เห่อตามกระแสวัตถุนิยม รู้เท่าทัน
- ต้องไม่เสี่ยง ไม่โลภ และ ไม่เล็งผลเลิศเกินไป มีการวางแผนชีวิต ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
- อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- รักษาประเพณี วัฒนธรรมไทย มีความรักชาติ เสียสละ มีจิตสาธารณะ กตัญญู
- มี คุณธรรม จริยธรรมมีความอดทน ขยัน และความเพียรในการประกอบอาชีพ และมีสติในการดำรงชีวิต ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
- สมาชิกในครอบครัว อยู่อย่างพร้อมหน้า และมีความสุข พ่อแม่มีคุณภาพในการฝึกอบรมบุตร
- สมาชิกมีพฤติกรรม ทางสุขภาพที่ดี และ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการป้องกันโรค รู้จักดูแล สุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์
- เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ตลอดชีวิต
- ก้าวทันเทคโนโลยี
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้ไอที เข้าช่วย โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี ความมีสติ มีไหวพริบ
วิธีทำทางเกษตร คือ แบ่งพื้นที่การทำเกษตร เป็นสี่ส่วน มีอัตราส่วน 3: 3:3:1 ส่วนที่หนึ่งปลูกข้าว ส่วนที่สอง แบ่งเป็นปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชแบบผสมผสาน ทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกพืชสวนครัว สมุนไพร ที่แตกต่างกัน ไม้ผล ที่มีมูลค่าสูงๆ ส่วนที่สามขุดแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ เลี้ยงสัตว์ ส่วนที่สี่ ใช้สำหรับที่อยู่อาศัย
การจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน สัดส่วนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ตัวเลขง่ายต่อการจดจำในพื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้ 30:30:30:10 (พื้นที่ทำนา สระน้ำ พื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และที่อยู่อาศัย) 1) สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 2) นาข้าว 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 3) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 4) ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 2 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
โดยทั่วไป คนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อ ปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3-4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี
การคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูไว้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 10,000 ลูกบาศก์เมตร สระน้ำในที่นี้ ยังหมายถึงแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครอบครัวเกษตรกร นอกจากนี้แหล่งน้ำยังสามารถเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนนำน้ำจากแหล่งดังกล่าว มาใช้ในการเพาะปลูกพืชผลในเรือกสวนไร่นาและกิจกรรมการผลิตอื่น ๆ เช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ และพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น
การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง สามารถทำได้ดังนี้ (บนความนี้ ลอกมา)
1. ทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
2. ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
3. ใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
4. เพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5. ปลูกไม้ผลสวนหลังบ้านและไม้ใช้สอย
6. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. เลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและสระน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
8. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่ประมาณ 10-15 ตัว เพื่อเป็นอาหารต่อครอบครัว โดยใช้ข้าวเปลือก รำปลายข้าวจากการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูก พืชไร่ เศษพืชผัก จากการปลูกพืชผัก
9. การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร หรือวัว เพื่อใช้เป็นพลังงาน ในครัวเรือน
10. ทำสารสกัดชีวภาพ จากเศษพืชผักผลไม้ และพืชสมุนไพร ใช้ในไร่นา
ตัวอย่างการเกษตร แบบพึ่งพา( บทความนี้ลอกมา)
-ข้าว : พืชอาหารหลักของคนไทย สำหรับบริโภคในครอบครัว
- สระน้ำ : แหล่งน้ำในไร่นาและเลี้ยงสัตว์น้ำ
- พืชผัก : ใช้บริโภคในครัวเรือน ช่วยลดรายจ่ายประจำวัน
- พืชสมุนไพร ถั่วต่างๆ : เป็นอาหารและยาพื้นบ้าน
- ไม้ยืนต้นและไม้ใช้สอย : รักษาสภาพแวดล้อมให้สมดุล ป้องกันน้ำท่วม
- เลี้ยงสัตว์ : แหล่งอาหารโปรตีนและเสริมรายได้
- ไม้ดอกไม้ประดับ : เพื่อความสวยงาม พักผ่อนจิตใจและเสริมรายได้ (พยายามเพาะปลูกใน พันธุดีๆ แพงๆ หายาก ผลไม้ราคาแพงๆ สลับ กับที่ปลูกง่ายๆ เช่น ว่านหางจระเข้ )
- ปุ๋ยหมัก : บำรุงดิน รักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การเลี้ยงปลาในนาข้าว ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหาร ปลากินแมลงเป็นศัตรูข้าว มูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว
- การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรบพืชผัก
- มูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้าใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา และทำปุ๋ยชีวภาพ
- ฟางข้าว ใช้เพาะเห็ด ทำปุ๋ยหมัก คลุมดิน อาหารสัตว์
บรรณานุกรม
- วิทยา อธปิอนันต์. 2542ก. ไร่นาสวนผสมตามแนวทฤษฎีใหม่ : ในงานส่งเสริมการเกษตร. หน้า 1-13 กรมส่งเสริมการเกษตร. (อัดสำเนา)
- วิทยา อธิปอนันต์. 2542ข. เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเกษตรที่พึ่งพาตนเอง. หน้า 1-5. กรมส่งเสริมการเกษตร. (อัดสำเนา)
- วิทยา อธิปอนันต์ เอื้อ เชิงสะอาด ประเสริฐ กองกันภัย ฉวีวรรณ มหะเสนีย์ อรุณี ปิ่นประยงค์
- เอนก มีชนะ สมคิด นุ่มปราณี เพ็ญศรี ภิริสมบูรณ์ อำนวย ช้างวงศ์. 2542. ไร่นาสวนผสมตามแนวทฤษฎีใหม่. กรมส่งเสริมการเกษตร. (อัดสำเนา)
- สุเมธ ตันติเวชกุล. 2541. การดำเนินชีวิติในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันเสาว์ที่ 5 ธันวาคม 2541.
- สำนักพระราชวัง ที่ รล 0003/18888 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 สำนักพระราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง กทม.
- เอื้อ เชิงสะอาด อดุลย์เดช ประทับศักดิ์ วิทยา อธิอนันต์ ประเสริฐ กองกันภัย
- อนุวัติ พิสัยพันธ์ อรุณี ปิ่นประยงค์ อเนก มีชนะ ฉวีวรรณ มหะเสนีย์ เพ็ญศรี ภิริสมบูรณ์. 2539. ทฤษฏีใหม่เกี่ยวกับการใช้น้ำและการพัฒนาการเกษตร น้ำเพื่อชีวิต เพิ่มผลผลิตการเกษตร. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
- อำพล เสนาณรงค์. 2539. พระราชดำริเรื่องแหล่งน้ำและเรื่องทฤษฎีใหม่. (อัดสำเนา)
-กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 103 ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
<a href="http://www.rta.mi.th/22144u/" target="www.rta.mi.th/22144u/">http://www.rta.mi.th/22144u/</a>
<a href="http://www.sufficiencyeconomy.org/" target="www.sufficiencyeconomy.org/">http://www.sufficiencyeconomy.org/</a>
<a href="http://www.rta.mi.th/51300u/" target="www.rta.mi.th/51300u/">http://www.rta.mi.th/51300u/</a>
<a href="http://pattanathai.nesdb.go.th/" target="pattanathai.nesdb.go.th/">http://pattanathai.nesdb.go.th/</a>
<a href="http://www.doae.go.th/library/html/detail/menuknow.htm" target="www.doae.go.th/library/html/detail/menuknow.htm">http://www.doae.go.th/library/html/detail/menuknow.htm</a>
<a href="http://www.northernstudy.org/" target="www.northernstudy.org/">http://www.northernstudy.org/</a>
<a href="http://www.lemonfarm.com" target="www.lemonfarm.com">http://www.lemonfarm.com</a>
<a href="http://roiet.doae.go.th/moeiwadi" target="roiet.doae.go.th/moeiwadi">http://roiet.doae.go.th/moeiwadi</a>
<a href="http://www.sml.go.th/" target="www.sml.go.th/">http://www.sml.go.th/</a>
<a href="http://www.chivavithee.net" target="www.chivavithee.net">http://www.chivavithee.net</a>
<a href="http://www.khondee.net/" target="www.khondee.net/">http://www.khondee.net/</a>
<a href="http://www.mcot.or.th/king" target="www.mcot.or.th/king">http://www.mcot.or.th/king</a>