สรุปรายงานการประชุม
หัวข้อ “กระบวนการยุติธรรมบการปฏิรูปประเทศไทย”
วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสีดา
โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

กระบวนการยุติธรรมกับการปฏิรูปประเทศไทย
เริ่มเวลา 13.00 น. – 15.00 น. โดยมี วิทยากร 3 ท่าน ดังนี้
๑. คุณพิชัย วาสนาส่ง : อดีตสมาชิกวุฒิสภา
๒. คุณคมเทพ ประภายนต์ : นักกฎหมาย
๓. คุณจอน อึ้งภากรณ์ : กรรมการเครือข่าย I Low
ผู้ดำเนินรายการ พันโท แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธุศรี
ผู้เข้าร่วมเสวนาระดมสมอง จำนวน คน รายชื่อตามแนบ
สรุปรายงาน
กระบวนการยุติธรรมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม
ปัญหาเรื่องกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นยังล้าหลังอยู่มาก ประเทศไทยมีปัญหา ด้านความยุติธรรม คือการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ศักดิ์สิทธิ์ และเท่าเทียมกัน ซึ่ง กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยยังเป็นแบบ “อยุติธรรม” คือมีการใช้กฎหมายในทางที่ผิด ยึดติดกับตัวหนังสือมากเกินโดยไม่คำนึงถึงตัวจริต ในตัวบทของกฎหมายที่บังคับใช้ นักกฎหมายไม่ได้เป็นผู้ใช้กฎหมายที่แท้จริงและความยุติธรรมในตัวกฎหมายไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ แต่มีอำนาจในกลุ่มของผู้มีอิทธิพลเข้ามามากกว่า โดยที่ไม่สามารถแตะต้องผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพลได้เลย ซึ่งปัญหานี้เป็นข้อเท็จจริงในสังคมไทย และความเหลื่อมลำ้ทางชนชั้นในการใช้อำนาจทางกระบวนการยุติธรรม เช่น คนจนไม่มีสิทธิเรียกร้องความยุติธรรมได้เลยเพราะถูกกดขี่จากผู้มีอำนาจและมีฐานะที่ที่ดีกว่านั่นเอง
ประเทศไทยควรที่จะมีการแก้ไขปัญหาในกระบวนการยุติธรรมโดยยึดหลักความเป็นธรรมชาติเป็นแบบอย่างในการทำงานโดยการนำหลักของพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มาใช้ในการทำงานและการบริหารบ้านเมืองโดยมีแก่นศาสนาเข้ามาเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการทำงาน
ทางออกของกระบวนการยุติธรรมกับการปฏิรูปประทศไทย
- ทบทวนกฎหมายที่มีปัญหาขัดกับรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา ๖๐ “บุคคลย่อมมีิสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดชอบเนื่องจากการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น” และมาตรา ๗๑ “บุคคลมีหน้าที่ป้องกันระเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย” ซึ่งกฎหมายลูก เช่น กฎหมายอาญา กฎหมายศาลปกครอง ยังกำหนดให้ผู้เสียหายเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้องศาล รัฐธรรมนูญสามารถกำหนดให้ ประชาชนคนใดก็ได้ที่รักษาผลประโยชน์ของชาติมีสิทธิฟ้องซึ่งยังไม่ได้แก้ไข
- การใช้อำนาจตุลาการ หรือกระบวนการยุติธรรม ควรมีคณะลูกขุน เพื่อให้การตัดสินความด้วยความยุติธรรม ไม่มีสองมาตราฐาน และมีความเป็นธรรมแก่ประชาชน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และนักการเมืองต้องอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมาย และควรมีที่ปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยไม่เว้นแม้นมีเรื่องกับรัฐ
- กฎหมายควรบังคับใช้กับทุกคน ไม่มีใครอยู่เหนืออำนาจของกฎหมาย
- ที่มาของ ตุลาการ มีตัวแทนศาสนาร่วมเป็นกรรมการ ควรจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ และประวัติ ผลงานในอดีต และความดีไม่ตำ่กว่า ๑๐ ปี นอกเหนือจาการมีความรู้ทางกฎหมาย
- สื่อทีวี ฟรี ๑ ช่อง แ่ภาคประชาชน หรือสภาพัฒนาการเมือง โดยการเชิญสื่อทุกสื่อ เสนอข้อมูลทุกด้านอย่างเป็นธรรม ทั้งเรื่องสิทธ์ หน้าที่ บทบาท ของตนเองในระบอบประชาธิปไตย นโยบาลต่างๆที่ประชาชนควรรับรู้และมีส่วนร่วม และมีห้องเรียนกฎหมายขนาดใหญ่ให้กับประชาชนที่สนใจ
แนวทางการแก้ไข
- ประชาธิปไตย / กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องสร้างด้วยปรัชญาทางศาสนา
- การมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน
- การแก้ไขอำนาจอธิปไตยของผู้บริหารประเทศ
- การให้อำนาจกับนิติรัฐ
- สังคมไทยเป็นระบบอุปถ้มภ์ควรนำระบบลูกขุนมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชน
- ลดอำนาจของกฎหมายที่ลดรอนสิทธิประชาชน เช่น กฎอัยการศึก พรบ.ความมั่นคง พรก.ฉุกเฉิน เป็นต้น
- ตำรวจควรขึ้นตรงกับประชาชน คือ ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลควบคุม กำกับตำรวจ หรืเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการในการบริหารจัดการองค์กร และมีระบบการตวจสอบและประเมินมาจากประชาชน
- ควรปฏิรูประบบเรือนจำ/บทลงโทษผู้กระทำผิดเสียใหม่ โดยให้ผู้ที่มีฐานะอยู่ในระดับเดียวกันเป็นผู้ตัดสิน