1 เข้าไปสุ่มตรวจในโรงเรียนดัง ที่มีการรับนักเรียน
2 รับเรื่องร้องเรียน
3 ขอให้ทุกโรงเรียนประกาศรายชื่อเด็กที่สอบได้ และสำรองรวมทั้งคะแนนที่สอบได้ ทุกคน และ การเรียกตัวสำรองต้องประกาศรายชื่อ ให้สาธารณะรับรู้ เช่นทางเวบไซด์ ปิดประกาศหน้าโรงเรียน
4 ขอเป็นกรรมการ พัฒนาโรงเรียนคู่ขนาน
5 ขอให้ใช้วิชาใน ONET ที่เหมาะสม และ จะเป็นการเพิ่มการกวดวิชา ONET มากขึ้น หากโรงเรียนดีเด่นดังจำนวนน้อย แต่ ความต้องการมีมาก
6 ขอตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรการศึกษา ที่สำคัญต้องลดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ซ้ำซาก และจำเป็นน้อยให้ลดลง แต่หันไปเรียนรู้ที่สำคัญกว่าเช่นเรื่องทักษะชีวิต โดยตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ให้เสร็จภายในสองเดือน ประกาศใช้ในปีการศึกษา 2554 -2555
7 ขอมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยจะขอจัดทำคู่มือการสอนเด็กให้คิดเป็นมีทักษะชีวิต ไม่นอกลู่นอกทาง เป็นคนดีมีศิลธรรม มีจิตอาสา และที่สำคัญเพิ่มศักยภาพเด็กและเยาวชนไทยให้มากขึ้น และจัดทำคู่มือการกวดวิชา
8 ในระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ขอให้ยกเลิกการใช้ ONET และการใช้GPA X เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มการกวดวิชา ทำให้ การคิดวิเคราะห์ลดลง (ส่วนของไอคิว) ดังการวิจัยของ PISA ควรตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นการปรับระบบแอดมิชชั่น และให้เสร็จสิ้นภายในสองเดือน
9 ควบคุมราคาค่ากวดวิชา และเวลาปิดเปิด เช่นให้หยุดวันอาทิตย์ เพื่อให้เด็กได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว และเรียนรู้ทักษะชีวิตด้านอื่นๆที่จำเป็น และในโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้วิดีโอเปิด ให้เด็กเรียน ควรลดราคาลงกว่า 70 % เทียบกับการสอนจริง เนื่องจากเป็นการเอาเปรียบนักเรียนมากไป
10 ควบคุมค่าเล่าเรียน ในโรงเรียนนานาชาติที่มีกำไรสูงมากในการจัดการศึกษา เช่นบางโรงเรียนเก็บนักเรียนปีละ 300,000 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพียง 100,000 บาท ที่เหลือคือกำไร จะสังเกตว่า โรงเรียนนานาชาติขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงใคร่ขอให้ทางกระทรวงช่วยกำกับดูแลและควบคุมค่าเทอม โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกับเครือข่ายผู้ปกครอง รวมทั้งกระทรวงศึกษาโปรดพิจารณา ออกมาตรการให้กำไรไม่ควรเกิน 10 % ปัจจุบัน โรงเรียนานาชาติบางแห่งขึ้นค่าเทอม 10 % ทุกปี
11 สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียน จาก อาจารย์ และครู เรื่องการประเมินที่เพิ่มภาระแก่อาจารย์ มหาวิทยาลัย และครู ทำให้บทบาทในการสอนลดลง จึงอยากจะขอให้จัดตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอในการประเมินคุณภาพ โดยไม่เพิ่มภาระแก่ครู และอาจารย์มหาวิทยาลัยมากเกินไป
12 เครือข่ายผู้ปกครองไม่เห็นด้วยที่จะให้การเรียนครู ใช้เวลา หกปี เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จข่ายแก่รัฐบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้ปกครอง ควรปรับปรุงเนื้อหาการสอนและวิธีการสอนนักศึกษาครูให้มีประสิทธิภาพ มากกว่า เช่นใน นิวซีแลนด์ เรียนครูสามปี มีคุณภาพได้
13 ขอเป็นคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษารอบสอง
ทั้งหมดนี้ จึงใคร่ขอกราบเรียนมาเพื่อโปรด พิจารณา ขอกราบขอบพระคุณ อย่างสูงยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
พันโทแพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี นายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ
และเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โ ทรศัพท์ 081-2980284
ผลประเมิน'PISA 2009'ไทยล้มเหลว รั้งท้ายทั้ง'อ่าน-คณิต-วิทย์'-ชินวรณ์จี้แก้ให้ถูกจุด
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้รายงานผลการประเมินของ PISA ประจำปี 2552 ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมทั้งหมด 65 ประเทศ รวมทั้งไทย โดยประเมิน 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ผลการประเมินพบว่าในด้านการอ่าน จีนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับ 1 จำนวน 556 คะแนน รองลงมาเป็นเกาหลี ฟินแลนด์ ฮ่องกง ขณะที่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 493 คะแนน ส่วนประเทศไทย ได้คะแนน 421 คะแนน อยู่ในอันดับช่วงที่ 47-51 จาก 65 ประเทศ อยู่ในกลุ่มเดียวกับตูนิเซีย โรมาเนีย บราซิล โคลัมเบีย และบัลแกเลีย อย่างไรก็ตาม นักเรียนจากกทม.และปริมณฑลมีทักษะการอ่านสูงกว่านักเรียนในต่างจังหวัด โดยเฉพาะร.ร.สาธิต ส่วนด้านคณิตศาสตร์ จีนได้คะแนนสูงสุด 600 คะแนน รองลงมาเป็นสิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี ขณะที่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 496 คะแนน ส่วนไทย ได้ 419 คะแนน อยู่ในอันดับช่วงที่ 48-62 อย่างไรก็ตาม นักเรียนจากกทม.และปริมณฑลสามารถเรียนรู้ คณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนในต่างจังหวัด โดยเฉพาะร.ร.สาธิต เช่นกัน
ส่วนการประเมินด้านวิทยาศาสตร์ จีน ได้คะแนนอันดับ 1 จำนวน 575 คะแนน รองลงมาเป็นฟินแลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 501 คะแนน ส่วนไทย ได้ 425 คะแนน อยู่ในอันดับช่วงที่ 47-49 อย่างไรก็ตาม นักเรียนจากกทม.และปริมณฑลเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนในต่างจังหวัด และคะแนนร.ร.สาธิต เทียบเท่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ทั้งนี้ ปัญหาของไทยคือขาดครูทุกวิชา ส่วนการกวดวิชาส่งผลกระทบทางลบต่อเด็ก โดยเฉพาะคะแนนการคิดวิเคราะห์ของเด็กลดลง ส่วนการใช้ไอซีทีเสริมการเรียนรู้ ไม่ได้การันตีว่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กสูงด้วย อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบหมายให้องค์กรหลักนำผลประเมินไปวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุด
'ไชยยศ'ชงปรับแอดมิชชั่นกลาง
นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุมของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้เข้าร่วมประชุม ทปอ. และเสนอให้ ทปอ. ทบทวนเรื่ององค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชั่น ที่ปัจจุบันใช้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรม.ปลาย (GPAX) 20% แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET 30% แบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT 10-50% และแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT 0-40% ซึ่งทำให้หลายคณะไม่สามารถคัดเลือกเด็กได้ตรงตามความต้องการ
“ผมเสนอ ทปอ.ใช้ O-NET เป็นองค์ประกอบในการแอดมิชชั่นเท่านั้น โดยไม่ต้องนำมา คิดเป็นคะแนน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสอบ O-NET ไม่ใช่ต้องการนำมาใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย แต่เป็นการวัดมาตรฐานของโรงเรียนต่าง ๆ พร้อมกันนี้ได้ขอความร่วมมือ ทปอ.ให้เข้าร่วมกับศูนย์กลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (รับตรง) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่กำลังจะดำเนินการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียน จะได้ไม่ต้องวิ่งรอกสอบ ขณะเดียวกันขอให้ ทปอ.ช่วยดูแลเรื่องการผลิตบัณฑิตให้ได้คุณภาพและมีมาตรฐานตามที่กำหนดด้วย เพื่อป้องกันปัญหาจ่ายครบจบแน่ซึ่งมีบางมหาวิทยาลัยทำอยู่
ด้าน ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะประธาน ทปอ. กล่าวว่า ทปอ.ได้รับข้อเสนอของนายไชยยศไปพิจารณา ซึ่งคงต้องนำเข้าหารือในคณะกรรมการศึกษาระบบแอดมิชชั่นว่า จะสามารถทำได้หรือไม่ก่อน นอกจากนี้ทปอ.ได้เห็นชอบปฏิทินแอดมิชชั่น ปี 2554 ดังนี้ จำหน่ายหนังสือระเบียบการฯ ศูนย์กรุงเทพฯ/ศูนย์ภูมิภาค วันที่ 4-20 เม.ย. 2554 รับสมัคร ทาง www.cuas.or.th วันที่ 11-20 เม.ย. 2554 ชำระเงินค่าสมัครผ่านทางธนาคารหรือที่ทำการไปรษณีย์ไทย วันที่ 11-22 เม.ย. 2554 ผู้สมัครตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการสมัครทาง www. cuas.or.th วันที่ 12-25 เม.ย. 2554 ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูล ทางโทรสารหมายเลข 0-2354-5155-6, 0-2576-5555, 0-2576-5777 วันที่ 12-27 เม.ย 2554 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายทาง www.cuas.or.th วันที่ 8 พ.ค. 2554 สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย มหาวิทยาลัย/ สถาบันอุดมศึกษาที่สอบได้ วันที่ 11-13 พ.ค 2554 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทาง www.cuas.or.th วันที่ 19 พ.ค 2554.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=42&contentID=112241